วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2554

การสำรวจและทำแผนที่ (Surveying and Mapping)

การสำรวจ  ( Surveying)
                การสำรวจเป็นการหาตำแหน่งที่แน่นอนของจุดและความสัมพันธ์ของตำแหน่งของจุดที่อยู่บนหรืออยู่ใต้ผิวโลกหรืออยู่ในอวกาศ  โดยมีพิกัดกำกับ หรือเป็นการวัดระยะราบ  ระดิ่งระหว่างวัตถุหรือจุด การวัดมุมราบ มุมสูง การวัดระยะและทิศทาง  ของเส้นนั้น ค่าที่วัดได้จาการสำรวจจะนำมาคำนวณหาระยะจริง มุม ทิศทาง ตำแหน่ง ค่าระดับ  เนื้อที่ และปริมาตร  ค่าที่ได้จะนำไปสร้างเป็นแผนที่ได้หรือนำไปเขียนแบบสำรวจเพื่อกำหนดแบบแผนแม่บท  ใช้ในการออกแบบก่อสร้างและคำนวณราคา
                กาสำรวจแบ่งเป็นสาขาใหญ่ๆ ดังนี้
                1.  การสำรวจภาคพื้นดิน  (Earth  surface Surveying)  เป็นการสำรวจโดยใช้เครื่องมือสำรวจทั่วไป เช่น การสำรวจด้วยโซ่ (Chain  Surveying)  การสำรวจด้วยกล้อง Thcodolite  และเทปวัดระยะ การสำรวจด้วยกล้อง ETS (Electroic total station)  การหาทิศเหนือโดยใช้วิธีทางดาราศาสตร์ และ Gyoattachment หรือ Autogyroattachment  ถ้าใช้เครื่องรับดาวเทียมมหาทิศจะต้องตั้งห่างกันไกล ตามความละเอียดของเครื่องรับสัญญาญดาวเทียม (GPS Reciever)
                2.  การสำรวจทางอากาศ  (Aerial  Survey)  เป็นการสำรวจโดยการบินถ่ายรูปทางอากาศ ปัจจุบันได้พัฒนาไปใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิคส์ และรังสีอินฟราเรด หรือเรดาร์โดยใช้วิธีการ Scan  แล้วเก็บภาพไว้ในระบบเทปวีดีทัศน์นอกจากนั้นยังมีการสำรวจโดยใช้ระบบความเฉื่อย (Inertial Surveying) การสำรวจหาความสูงต่ำของพื้นที่ โดยการใช้เลเซอร์ติดตั้งบนเครื่องบิน (Airborne Laset Terrian Profiler) การหาความสูงและถ่ายภาพด้วยระบบเรดาร์  (Airborne Radar Profilet)
                3.  การสำรวจด้วยดาวเทียม (satellite Surveying)  การสำรวจด้วยดาวเทียมจะมีหลายอย่างเช่น  การใช้ดาวเทียมเพื่อการกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Positioning System = Gps ) และการใช้ดาวเทียมถ่ายรูปผิวโลกโดยการสะแกนเหมือนกับใช้บนเครื่องบิน  ดาวเทียมที่ใช้ เช่น ดาวเทียม Landsat,Spot
                นอกจากนั้นยังใช้ดาวเทียมไปถ่ายภาพดาวเคราะห์ต่างๆ ถ้ามองเห็นพื้นผิวก็จะใช้ระบบอินฟาเรด ถ้ามองไม่เห็นเช่นดาวพระศุกร์ก็จะใช้ระบบเรดาร์เพื่อนำมาทำแผนที่  เราเรียกระบบนี้ว่า Satellite Photography และ C- and S-band radat system  การหาระยะเส้นฐานระยะไกล (Very long Baseline Intergerometry = VLBI)
                ปัจจุบันมีวิชาที่ต้องศึกษาการสำรวจด้วยดาวเทียมก็คือ  ยีออเดซี่ดาวเทียม  (Satellite Geodesy)
                4.  การสำรวจใต้ดิน  (Undetground  Survying)  เป็นการเจาะสำรวจเพื่อหาแร่ธาตุและทรัพยากรต่าง ๆ ปริมาณแร่หรือน้ำมันสำรอง  การสำรวจเพื่อการเจาะอุโมงค์ การสำรวจทางธรณีวิทยา  เพื่อหาโครงสร้างของเปลือกโลก ทั้งนี้การกำหนดตำแหน่งโดยทางการสำรวจจะมีความสำคัญต่อการสำรวจชนิดนี้เป็นอย่างมาก
                5.  การสำรวจทางสมุทรศาสตร์  เป็นการสำรวจหาความเร็วของกระแสน้ำ ทิศทางของกระแส การหาความสูงของท้องทะลเพื่อการเดินเรือ เพื่อทำแผนที่ทางทะเล   การหาอุณหภูมิของทะเลเพื่อใช้ประโยชน์ในการประมง
หลักการสำรวจทางภาคพื้นดิน   การกำหนดจุดในทางสำรวจนี้  จุดที่กำหนดขึ้นจะต้องมีควมสัมพันธ์กันโดยวัดออกจากจุดคงที่ที่ทราบค่าพิกัดหรือจุดที่กำหนดขึ้นอย่างน้อย  2 จุด
                 การสำรวจจะทำจากส่วนใหญ่ไปหาส่วนเล็ก  ตามขั้นของการสำรวจนั้นจะต้องทำการสำรวจขั้น Geodetic ก่อนแล้วจึงสำรวจแบบ Plane  survey  ซึ่งการสำรวจขั้น  Geocdetic  จะใช้เครื่องมือที่มีความละเอียด  วิธีการและข้อกำหนดที่ละเอียด  ส่วนมากจะเป็นการทำการสามเหลี่ยมซึ่งคลุมเนื้อที่ได้มาก  เป็นการสร้างจุดบังคับแผนที่ให้คลุมส่วนใหญ่ต่อจากการทำสามเหลี่ยมก็เป็นการทำวงรอบ  ซึ่งเป็นการกำหนดจุดบังคับคลุมพื้นที่ที่ต้องสำรวจขนาดเล็กลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ลักษณทางภูมิศาสตร์

ลักษณทางภูมิศาสตร์
ภูมิประเทศ