วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

วิชาพื้นฐานการสำรวจ

ในการสำรวจพื้นราบ  (plane  Surveying)  นักศึกษาจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับวิชาเราขาคณิต  ตรีโกณมิติ  ฟิสิกส์  ดาราศาสตร์  และคณิตศาสตร์ต่าง ๆ เกือบทุกเรื่อง  ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจการปรับแก้งานสำรวจและกฎ สูตรต่างๆ ทางการสำรวจ
                ในปัจจุบันเครื่องคำนวณหรือ  computer  เข้ามามีบทบาททางการสำรวจ  ซึ่งอาจจะมากกว่าสาขาวิชาอื่น ๆ มาฉะนั้นนักสำรวจหรือช่างสำรวจ  จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องคำนวณตั้งแต่เครื่องคิดเลขธรรมดา  Pocket  computer  และ Micro computer  รวมทั้ง Computer  ขนาดใหญ่ ทั้งนี้เพราะต้องใช้เก็บข้อมูลต่างๆ รวมทั้งโปรแกรมการคำนวณ และการ Plot   รูป แผนที่ต่าง ๆ
2.4  หน่วยการวัดมุม
                หน่วยการวัดมุมมีหลายชนิด  ซึ่งกล้อง digital  Theodolite หรือ Electronic Thedolite  สามารถจะวัดได้ทุกระบบตามที่ต้องการ  หน่วยการวัดมุมมีดังนี้
                1.  SEXAGESIMAL SYSTEM  ระบบนี้เป็นระบบอังกฤษ คือ ระบบมุมมีหน่วยเป็นองศา  (Degree)  ลิปดา (Minute) พิลิปดา (Second) 1 มุมฉากมีค่าเท่ากับ  90  องศา
               
ถ้ามาตราส่วนขนาดกลางใช้แผนที่สี่เหลี่ยมผืนผ้าแทนสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีขนาดมาตราส่วน 1: 50000 เช่นขนาดของแผนที่  12  × 18  ลิปดา  ก็จะใช้ขนาดมาตราส่วนที่โตกว่า เช่น 1: 2500
                การใช้กระดาษ   A 1 ถ้าขนาดของพื้นที่  10×20 กม. จะใช้มาตราส่วน 1: 2500  ถ้าขนาดของพื้นที่ 20 ×  40 กม. จะใช้มาตราส่วน 1: 50000 ๙งเป็นขนาดของแผนที่  40 × 80 ซม. และ
 60 × 84  ซม. ด้านยาวของแผนที่จะวางยาวในแนวออก ตก ได้ส่วนสัญลักษณ์ต่าง ๆ  จะหมายเหตุไว้ข้างล่าง
                บางมาตราส่วนจะใช้เนื้อที่ของแผนที่เท่ากับ  50 × 50 ซม.  :ซึ่งเท่ากับ มาตราส่วน 
1: 20000 จะคลุมพื้นที่  10 × 10 กม. ถ้าใช้ขนาดกระดาษให้เหมาะสมจะสามารถแทนพื้นที่ขนาด
 8 × 16 กม. ได้
  1.  มาตราส่วนแผนที่ที่ใช้ในงานต่าง ๆ
                  งานวิศวกรรมต่าง ๆ

ใช้ในงาน
มาตราส่วน
ใช้ในงาน
มาตราส่วน
การสำรวจเมือง






การสำรวจเพื่อ
การออกแบบ

1 : 50000
1  : 20000
1  : 10000
1  :  5000
1  :  2500

1 : 2500
1 : 2000
1 : 1250
1 : 1000
1 : 500
ผังบริเวณ
งานก่อสร้าง


งานเขียนแบบ


แบบขยายส่วนสำคัญ
1 : 1250
1 : 1000
1 : 500

1 : 200
1 : 100
1 : 50
1 : 20
1 : 10
1 : 5
1 : 1


2.  งานรังวัดที่ดิน  (กรมที่ดิน)
      แผนที่ระวางใช้มาตราส่วน 1/4000, 1/2000, 1/1000, 1/500
      มาตราส่วนในการสร้างต้นร่างแผนที่เฉพาะแปลง  ใช้มาตราส่วนตามเกณฑ์ดังนี้
 

เนื้อที่
มาตราส่วน
1 -  49             ตารางวาใช้
50 -  100         ตารางวาใช้
101 400       ตารางวาใช้
           1 5               ไร่ใช้
           5 -50                 ไร่ใช้
          50 250          ไร่ใช้
          250 1000       ไร่ใช้
          มากกว่า 1000    ไร่ใช้
1  :  125
1  :  250
1  :  500
1  :  1000
1  :  2000
1  :  4000
1  :  8000
1  :  16000  ขึ้นไป




3.   ลักษณะของงานสำรวจ  งานสำรวจจะแบ่งออกเป็น  3  ส่วนคือ
                1.  งานสนาม  (Field  work)
                2.  งานสำนักงาน  (Office  work)
          3.  การรักษาและปรับแก้เครื่องมือ  (Care  and  Adjustment of the Instrument)
             งานสนาม   เอกลักษณ์ของการสำรวจนี้จำเป็นจะต้องวัดค่าต่าง ๆ เช่น ระยะ  วัดมุม วัดหาความสูง เพราะฉะนั้น  ในงานสนาม  ผู้ที่เป็นช่างสำรวจจะต้องมีความรู้เรื่องการวัดอย่างแม่นยำและแน่นอน เพราะงานสนามหรืองานสำนักงานจะสมบูรณ์หรือไม่ขึ้นอยู่กับสิ่งต่าง ๆ หลายอย่างดังนี้
                1. วางแผนการกำหนดแบบสำรวจหรือแผนที่  เช่น ข้อกำหนดของการสำรวจ ระบบพิกัดที่ใช้  การเตรียมเครื่องมือเพื่อให้เหมาะกับงาน  หรือถูกต้องตามข้อกำหนด
                2. ระวังรักษาเครื่องมือโดยเฉพาะเวลาโยกย้ายในเวลาทำงาน  รวมทั้งการปรับแก้เครื่องมือให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
                3. กำหนดสถานที่จะทำ BM  หมุดรอบวง หมุดการสามเหลี่ยม ในสถานที่มั่นคง แข็งแรง มีสิ่งสำคัญเป็นจุดอ้างอิงเพื่อสะดวกในการค้นหา  เช่น สะพาน เจดีย์
                4. การกำหนดหมุดจะต้องกำหนดให้คลุมพื้นที่สำรวจให้ทั่วถึง ไม่ว่าจะเป็นหมุดทางราบหรือทางดิ่ง
                5. จดหรือบันทึกค่ารังวัดต่าง ๆ ด้วยความระมัดระวัง
                6. ทำการวัดมุม วัดระยะหรือส่องค่าระดับด้วยความระมัดระวัง
                7. ทำหารส่องดาวหรือดวงอาทิตย์   หรือใช้ Gyroattachment  เพื่อหาทิศเหนือจริง หรือใช้เครื่องมือหาพิกัดของหมุดแรกออกหรือเข้าบรรจบ เพื่อหาพิกัดฉาก และพิกัดภูมิศาสตร์
                8. ควรจะคำนวณตรวจสอบค่าต่าง ๆ ที่ได้ทำเสร็จแล้ว เพื่อให้แน่ใจว่างานนี้ถูกต้องก่อนเข้ากรม
                9. การให้ระดับและให้แนวในการก่อสร้าง หรืองานวิศวกรรมทั่วไปจะต้องทำด้วยความแม่นยำทั้งการคำนวณและการส่องกล้อง ตลอดจนการตรวจสอบเขตกรรมสิทธิ์ก่อนการก่อสร้าง
                10. จะต้องแก้ไขแบบสำรวจ หรือสำรวจใหม่ เมื่อพบข้อผิดพลาดขึ้นซึ่งเรียกว่า Asbuilt  Survey

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ลักษณทางภูมิศาสตร์

ลักษณทางภูมิศาสตร์
ภูมิประเทศ