วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

การอ่านและการใช้แผนที่


  • การกำหนดตำแหน่งในแผนที่                                                                              
         พิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinates) เป็นระบบอ้างอิงบนพื้นผิวพิภพ ตำแหน่งของจุดใดๆ บนพื้นผิวพิภพสามารถกำหนดได้ด้วยค่าละติจูด( Latitude ) และลองจิจูด ( Longitude ) โดยมีหลักการและวิธีการ ดังนี้
ก) ละติจูด
       เส้นรอยตัดบนพื้นผิวพิภพที่เกิดจากการสมมติใช้พื้นราบตัดพิภพโดยให้พื้นราบนั้นตั้งได้ฉากกับแกนหมุนของพิภพเสมอ เส้นรอยตัดดังกล่าวนั้นคือเส้นละติจูด นิยมเรียกสั้นๆ ว่า เส้นขนาน
ละติจูดศูนย์องศา คือ เส้นรอยตัดบนพื้นผิวพิภพ ที่เกิดจากพื้นราบที่ตั้งได้ฉากกับแกนหมุนตัดผ่านจุดศูนย์กลางของพิภพ เส้นรอยตัดเส้นนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เส้นศูนย์สูตร” (Equator) ซึ่งเป็นวงขนานละติจูดวงใหญ่ที่สุด
ค่าละติจูดของวงละติจูดใด คือ ค่ามุมที่จุดศูนย์กลางของพิภพนับไปตามพื้นราบที่บรรจุแกนหมุนของพิภพ เริ่มจากพื้นศูนย์สูตรถึงแนวเส้นตรงที่ลากจากจุดศูนย์กลางพิภพไปยังวงละติจูตนั้น
ที่จุดขั้วเหนือของพิภพมีค่าละติจูดเท่ากับ 90 องศาเหนือ และที่จุดขั้วใต้ของพิภพมีค่าละติจูดเท่ากับ 90 องศาใต้
เนื่องจากพื้นของวงละติจูดศูนย์องศา หรือพื้นศูนย์สูตร เป็นพื้นที่ตัดผ่านจุดศูนย์กลางของพิภพ วงศูนย์สูตรจึงถูกเรียกว่า วงกลมใหญ่ส่วนละติจูดอื่นๆ เป็นวงกลมเล็ก วงละติจูตจะมีขนาดเล็กลงๆ เมื่อห่างวงศูนย์สูตรออกไปจนกระทั่งกลายเป็นจุดที่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้
ระยะห่างระหว่างเส้นละติจูด 1 องศา คิดเป็นระยะทางบนผิวพิภพประมาณ 111 กิโลเมตร (69 ไมล์) และ 1 พิลิปดา มีระยะห่างประมาณ 30.48 เมตร (100 ฟุต)
ข) ลองจิจูด
เส้นรอยตัดบนพื้นผิวพิภพที่เกิดจากการสมมติใช้พื้นราบตัดพิภพ โดยให้พื้นราบผ่านแนวแกนหมุนของพิภพ เส้นรอยตัดบนพื้นผิวพิภพดังกล่าวเรียกว่า เส้นลองจิจูดหรือเส้นเมริเดียน ( Meridian)
ลองจิจูดศูนย์องศา คือเส้นลองจิจูดที่ผ่านหอส่งดาว ณ เมืองกรีนิส (Greenwich) ในประเทศอังกฤษ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า  เมริเดียนหลัก ( Prime Meridian)
การกำหนดค่าลองจิจูด คือค่าง่ามมุมที่จุดศูนย์กลางพิภพบนพื้นศูนย์สูตรโดยใช้แนวเส้นตรงที่ลากจากจุดศูนย์กลางพิภพมายังเมริเดียนหลักเป็นแนวเริ่มนับค่าง่ามมุมไปทางตะวันออก 180 องศา เรียกว่า ลองจิจูดตะวันออก และนับค่าง่ามมุมไปทางตะวันตก 180 องศา เรียกว่า ลองจิจูดตะวันตก เส้นลองจิจูดที่ 180 องศาตะวันออกและตะวันตกเป็นเส้นเดียวกัน
ลองจิจูดทุกเส้นเป็นส่วนโค้งของวงกลมใหญ่(Great Circle)
ระยะห่างระหว่างเส้นลองจิจูด 1 องศา ตามเส้นศูนย์สูตร คิดเป็นระยะทางประมาณ 111 กิโลเมตร (69 ไมล์) และ 1 พิลิปดา มีระยะห่างประมาณ 30.48 เมตร (100 ฟุต) แต่เนื่องจากเส้นลองจิจูตทุกเส้นจะไปบรรจบกันที่จุดขั้วเหนือและขั้วใต้ของพิภพ ดังนั้น ระยะห่างระหว่างเส้นลองจิจูดจึงน้อยลงๆ เมื่อยิ่งห่างจากเส้นศูนย์สูตรออกไป
ค) วิธีการบอกตำแหน่งของจุดใดๆ ในแผนที่เป็นค่าพิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดภูมิศาสตร์ จะมีแสดงไว้บนแผ่นแผนที่มาตรฐานทั่วๆ ไปและแผนที่บางชนิดมีเฉพาะระบบนี้เท่านั้น ที่ใช้ในการบอกตำแหน่งของจุดใดๆ ในแผนที่
เส้นขอบระวาง( neat lines) ของแผนที่ภูมิประเทศแบบมาตรฐานซึ่งผลิตขึ้นใช้ในประเทศไทยปัจจุบัน และที่นิยมใช้กันอยู่เกือบทั่วโลกขณะนี้ เส้นขอบบนและเส้นขอบล่างเป็นเส้นละติจูด เส้นด้านข้างทั้งสองเส้นเป็นเส้นลองจิจูดค่าของเส้นละติจูดและลองติจูดจะมีกำกับไว้ที่มุมทั้ง 4 ของขอบระวางแผนที่ ตามแนวเส้นขอบระวางแผนที่จะแสดงขีดส่วนแบ่งย่อยของค่าละติจูดและลองติจูดไว้ทั้งสี่ด้าน ถ้าต่อแนวเส้นตรงของขีดส่วนแบ่งย่อยดังกล่าวที่อยู่ตรงข้ามทั้ง 4 ด้าน เข้าไปภายในของระวางแผนที่แล้วจะพบเครื่องหมายกากบาทอันเป็นส่วนตัดกันของขีดส่วนแบ่งย่อยละติจูดและลองติจูด ความห่างของขีดส่วนแบ่งย่อยละติจูดและลองติจูดจะเป็นเท่าไรขึ้นอยู่กับขนาดมาตราส่วนของแผนที่
2. พิกัดกริด (Grid Coordinates)
พิกัดกริดเป็นพิกัดตารางสี่เหลี่ยมประกอบด้วยเส้นตรง 2 ชุด คือ เส้นตรงขนานกันในแนวนอนและเส้นตรงขนานกันในแนวตั้ง เส้นตรงทั้ง 2 ชุดนี้จะตัดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก 
เส้นตรงขนานดังกล่าวจะพิมพ์ไว้บนแผ่นแผนที่ ที่เรียกว่า เส้นกริด แต่ละเส้นมีตัวเลขแสดงค่าพิกัดกริดนับจากจุดศูนย์กำเนิด( Origin) ของระบบพิกัดกริดนั้น ขนาดระยะห่างระหว่างเส้น
กริดคู่หนึ่งๆ ย่อมคงที่เสมอและจะมีระยะจริงตรงกับภูมิประเทศเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับขนาดมาตราส่วนของแผนที่ที่ผลิตขึ้นใช้ จุดศูนย์กำเนิดของระบบพิกัดกริดจะใช้ศูนย์กำเนิดจริง
(True Origin) หรือศูนย์กำเนิดสมมติ (False Origin) ย่อมขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละระบบ
ระบบพิกัดกริดมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะพิกัดกริดที่นิยมใช้ในกิจการทหาร ( Military Grid) ยุคปัจจุบันนี้เท่านั้น
ก. พิกัดกริดยูนิเวอร์ซัลทรานสเวอร์สเมอร์เคเตอร์ (Universal Transverse Mercator Grid) แผนที่มาตราส่วนใหญ่และมาตราส่วนปานกลางที่ใช้ในกิจการทหารส่วนมาก นอกจากจะมีระบบพิกัดภูมิศาสตร์ ( Geographic Coordinates) แล้วยังมีระบบกริดที่ใช้ช่วยในการกำหนดตำแหน่งและใช้อ้างอิงในการบอกตำแหน่งอีกด้วย การบอกตำแหน่งโดยอาศัยระบบกริดมีส่วนดีและสะดวกกว่าใช้ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ เพราะตารางกริดมีขนาดเท่ากันและรูปร่างเหมือนกันทุกตาราง และพิกัดกริดให้ค่าเป็นระยะทางซึ่งง่ายแก่การกำหนดดีกว่าค่าง่ามมุม ระบบ UTM กริด มีลักษณะโดยย่อดังนี้
(1) ใช้ร่วมกับโปรเจคชั่นแบบ TRANSVERSE MERCATOR( Gauss Kruger) โดยแบ่งพิภพออกเป็นโซนละ 6 องศา ตามลองจิจูด โซนที่ 1 อยู่ระหว่างลองจิจูด 180 องศาตะวันตก กับลองจิจูด 174 องศาตะวันตก นับต่อเนื่องไปทางตะวันออกรอบพิภพรวม 60 โซน ซึ่งโซนที่ 60 จะอยู่ระหว่างลองจิจูด 174 องศาตะวันออกกับลองจิจูด 180 องศาตะวันออก
(2) สำหรับประเทศไทยใช้รัศมีของพิภพตามค่า Equatorial semi-axis a = 6,377,276.34518 เมตร ของ EVEREST SPHEROID
(3) ระบบพิกัด UTM กริด คลุมบริเวณตั้งแต่ละติจูด 80 องศาใต้ ถึงละติจูด 84 องศาเหนือ
(4) หน่วยที่ใช้ในการวัดเป็นเมตร โดยมีจุดศูนย์กำเนิดอยู่ที่จุดตัดกันระหว่างเส้นศูนย์สูตรกับเส้นเมริเดียนย่านกลาง ( Central Meridian) ของแต่ละโซน
(5) ค่าพิกัดมี 2 ค่า คือ พิกัดทางเหนือ (Northing) ใช้อักษรย่อว่า N และ พิกัดทางตะวันออก (Easting) ใช้อักษรย่อว่า E
(6) ค่าพิกัดของจุดศูนย์กำเนิดของแต่ละโซนเป็นค่าพิกัดสมมติเพื่อหลีกเลี่ยงค่าพิกัดที่เป็นลบ โดยกำหนดให้
  • พิกัดของจุดศูนย์กำเนิดของแต่ละโซนทางซีกโลกเหนือ
False northing = 0 เมตร
False easting = 500, 000 เมตร
  • พิกัดของจุดศูนย์กำเนิดของแต่ละโซนทางซีกโลกใต้
False northing = 10,000,000 เมตร
False easting = 500, 000 เมตร
(7) แต่ละโซนมีขนาดพื้นที่เท่ากัน แผนที่ที่คลุมบริเวณของแต่ละโซนมีขนาดเท่ากัน สำหรับแผนที่มาตราส่วนใหญ่จะมีส่วนเหลื่อมล้ำกันออกไปสองข้างรอยต่อโซนข้างละ 30 ลิปดา หรือ 25 ไมล์ เพื่อประโยชน์ในงานสำรวจด้านวิศวกรรมและการตรวจการยิงของปืนใหญ่
(8) เส้นกริดในทางตั้งจะขนานกับเมริเดียนย่านกลางของแต่ละโซน ส่วนเส้นกริดทางแนวนอนจะขนานกับเส้นศูนย์สูตร
(9) การกำหนดโซนของกริด (Grid Zone Designation)
ระหว่างละติจูด 80 องศาใต้กับละติจูด 84 องศาเหนือแบ่งออกเป็น 20 ส่วนๆ ละ 8 องศา เฉพาะส่วนบนสุดเท่านั้นที่มีขนาด 12 องศา แต่ละส่วนใช้อักษรกำกับ เริ่มจากอักษร C ที่เป็นส่วนใต้สุด (ระหว่างละติจูด 80-72 องศาใต้) ขึ้นไปตามลำดับถึงอักษร X ยกเว้นอักษร I กับ O
ระหว่างลองจิจูด 180 องศาตะวันตกเวียนไปทางตะวันออกถึงลองจิจูด 180 องศาตะวันออก แบ่งออกเป็น 60 ส่วนๆ ละ 6 องศา แต่ละส่วนใช้ตัวเลขกำกับ เริ่มส่วนที่ 1 ระหว่างลองจิจูด 180 องศาตะวันตกกับ 174 องศาตะวันตก นับไปทางตะวันออก จนถึงส่วนที่ 60 ซึ่งเป็นส่วนสุดท้ายอยู่ระหว่างลองจิจูด 174 องศาตะวันออกกับ 180 องศาตะวันออก (ลองจิจูด 180 องศาตะวันตกกับลองจิจูด 180 องศาตะวันออกเป็นเส้นเดียวกัน)
(10) การกำหนดรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสแสนเมตร(100,000 meter square identification ) - เริ่มจากลองจิจูด 180 องศาตะวันตกนับไปตามเส้นศูนย์สูตรไปทางตะวันออกทุกๆ ระยะ 100,000 เมตร ให้อักษรกำกับ เริ่มจากอักษร A ถึง Z ยกเว้นอักษร I กับ O จะมีชุดตัวอักษรซ้ำกันทุกๆ 8 องศา หรือ 3 โซน
- ตามแนวเหนือ-ใต้ ซีกโลกภาคเหนือเฉพาะโซนหมายเลขคี่ เริ่มจากเส้นศูนย์สูตรขึ้นไปทุกๆ ระยะ 100,000 เมตร ให้ตัวอักษรกำกับเริ่มจากอักษร A ขึ้นไป ตามลำดับถึงอักษร V ยกเว้น I กับ O ส่วนโซนหมายเลขคู่เริ่มนับจากจุดที่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตรลงไป 500,000 เมตร ระยะ 100,000 เมตรแรกใช้อักษร A กำกับและให้อักษรกำกับทุกๆ ระยะ 100,000 เมตรขึ้นมาตามลำดับจนถึงอักษร V ยกเว้นอักษร I กับ O จะมีชุดอักษรซ้ำกันทุกๆ ระยะ 2,000,000 เมตร
(11) การบอกค่าพิกัดกริดของระบบ UTM กริดที่สมบูรณ์จะต้องบอกตามลำดับดังต่อไปนี้
(ก) บอกให้ทราบชื่อโซนของกริด ( Crid Zone Designation ) เช่น 3P
(ข) บอกให้ทราบชื่อรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสแสนเมตร เช่น ( 100,000 meter square identification) เช่น MN
(ค) บอกค่าพิกัดกริดของจุดที่พิจารณา ตามขนาดความละเอียดที่ต้องการ เช่น
24, 2142, 218427, 21834279………..
(12) การบอกค่าพิกัด UTM กริดของจุดใดๆ ขณะปฏิบัติการในโซนเดียวกัน เพื่อความรวดเร็วนิยมบอกเป็นค่าพิกัด E และ N เฉพาะหลักหมื่น หลักพัน (ซึ่งในแผนที่ 1: 50,000 ชุด L 708 และ L 7017 จะพิมพ์ไว้เป็นตัวเลขใหญ่กำกับเส้นกริด) และหลักร้อยซึ่งประมาณได้ในแผนที่ เช่น 218427 
218 คือค่า E ( 8 คือ หลักร้อยที่ประมาณได้)
427 คือค่า N ( 7 คือ หลักร้อยที่ประมาณได้)
(13) การบอกค่าพิกัดของระบบ UTM กริดของจุดใดๆ ในโซนเดียวกันซึ่งต้องการค่า E และ N ที่สมบูรณ์ จะต้องเขียนให้ครบตามค่าพิกัดที่นับจากศูนย์สมมติ เช่น
พิกัดของจุด ก.
E = 748,600 เมตร
N = 1,546,415 เมตร
พิกัดของจุด ข.
E = 801,502 เมตร
N = 1,643,712 เมตร
(14) ปกติเส้นกริดของระบบ UTM จะมีค่าประจำอยู่ทุกเส้นระยะระหว่างเส้นสามารถอ่านประมาณได้ใกล้เคียงถึง 1/10 ของระยะห่างระหว่างเส้นกริดนั้น ถ้าต้องการอ่านให้ละเอียดถูกต้องกว่านั้นก็จำเป็นต้องใช้ Coordinate Scale ช่วยในการอ่านในรูปที่แสดงไว้จะเห็นตัวอย่างของ Coordinate Scale ที่ใช้อ่านพิกัดกริดของแผนที่มาตราส่วนต่างๆ ซึ่งผู้ใช้แผนที่สามารถสร้างขึ้นใช้เองได้
ข. พิกัดยูนิเวอร์ซัลโพล่าร์ สเตริโอกราฟฟิค( The Universal Polar Stereographic Grid) ระบบ UPS มีลักษณะโดยย่อดังต่อไปนี้
ใช้ร่วมกับโปรเจคชั่นแบบ Polar Stereographic
ระบบพิกัด UPS คลุมบริเวณตั้งแต่ละติจูด 84 องศาเหนือขึ้นไปถึงขั้วโลกเหนือและบริเวณตั้งแต่ละติจูด 80 องศาใต้ ลงไปถึงขั้วโลกใต้ ซึ่งเป็นบริเวณพื้นผิวพิภพที่ไม่ได้ถูกครอบคลุมด้วยระบบ UTM
ลักษณะเส้นกริดของระบบ UPS คล้ายกับลักษณะเส้นกริดของ UTM คือ ประกอบด้วยเส้นตรงขนานสองชุดตัดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก แต่เส้นกริดในแนวยืนระบบ UPS ขนานกับเส้นลองจิจูด 0 และ 180 องศา เส้นกริดในแนวนอนขนานกับเส้นลองจิจูด 90 องศา 
ศูนย์กำเนิดของเส้นกริดอยู่ ณ ขั้วของพิภพ โดยสมมติให้มีค่า EASTING =2,000,000 เมตร และค่า NORTHING = 2,000,000 เมตร
การกำหนดโซนของกริด ( Grid Zone Designation) ใช้เส้นลองจิจูด 0 และ 180 องศา เป็นเส้นแบ่งพื้นที่บริเวณขั้วโลกที่ระบบนี้ครอบคลุมอยู่ออกเป็นสองส่วน เป็นส่วนตะวันตกและส่วนตะวันออก ทางขั้วโลกเหนือใช้อักษร Y และ Z กำกับ ส่วนทางขั้วโลกใต้ใช้อักษร A และ B กำกับ
ค. The World Geographic Reference System (GEOREF) GEOREF เป็นระบบอ้างอิงที่ใช้ในการกำหนดตำแหน่งที่กองทัพอากาศสหรัฐฯ เป็นผู้ริเริ่มนำมาใช้ ซึ่งสามารถใช้ได้กับแผนที่ใดๆ ที่มีค่าละติจูดและลองจิจูดกำกับอยู่ด้วย ระบบยีออเรฟมีกฎการแบ่งที่สามารถจดจำได้ง่ายๆ ดังนี้
(1) แบ่งผิวพิภพตามค่าลองจิจูดออกเป็น โซน(zone) โซนละ 15 องศา เริ่มโซนแรกระหว่างลองจิจูด 180 องศา กับ 165 องศา ตะวันตก นับเวียนไปทางตะวันออกได้ 24 โซนให้อักษรประจำโซน เริ่มตั้งแต่อักษร A ถึง Z ยกเว้นอักษร I กับ O
(2) แบ่งผิวพิภพตามค่าละติจูดออกเป็นแถบ ( band ) แถบละ 15 องศา เริ่มจากขั้วโลกใต้ไปหาขั้วโลกเหนือได้ 12 แถบ ให้อักษรประจำแถบ เริ่มตั้งแต่อักษร A ถึงอักษร M ยกเว้นอักษร I
(3) การแบ่งตามข้อ (1) และ (2) จะทำให้ผิวพิภพถูกแบ่งออกเป็นรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งกั้นด้วยละติจูดและลองจิจูด ห่างกัน 15 องศา รวมทั้งสิ้น 288 รูป แต่ละรูปมีอักษร 2 ตัว กำกับ การอ่านอักษรประจำรูปสี่เหลี่ยมคงถือหลักการอ่านจากซ้ายไปขวาแล้วขึ้นบน ( Read Right-Up)
(4) แบ่งรูปสี่เหลี่ยม15 องศา X 15องศา ตามที่กล่าวแล้วในข้อ (3) นั้นออกเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อยขนาด 1 องศา X 1 องศา จำนวน 225 รูป คือ แบ่งตามลองจิจูดออกเป็นโซนละ 1 องศา ได้ 15 โซน ให้อักษรประจำโซนเริ่มจากตะวันตกไปตะวันออก ตั้งแต่อักษร A ถึงอักษร Q ยกเว้นอักษร I กับ O และแบ่งตามละติจูตออกเป็นแถบละ 1 องศา ได้ 15 แถบให้อักษรประจำแถบ เริ่มจากใต้ไปเหนือ ตั้งแต่ อักษร A ถึงอักษร Q ยกเว้นอักษร I กับ O ดังนั้นการบอกตำแหน่งของรูปสี่เหลี่ยมขนาด 1 องศา X 1 องศา นี้จึงบอกเป็นตัวอักษรสี่ตัว คือ อักษรสองตัวแรกเป็นอักษรประจำรูปสี่เหลี่ยม ขนาด 15 องศา X 15 องศา ที่รูปสี่เหลี่ยมขนาด 1 องศา X 1 องศา ประจำอยู่และอักษรสองตัวหลังเป็นอักษรประจำรูปสี่เหลี่ยมขนาด 1 องศา X 1 องศา เอง
(5) ในรูปสี่เหลี่ยมขนาด 1 องศา X 1 องศา ดังกล่าวแล้วในข้อ (4) นั้น แบ่ง ออกเป็นรูปเหลี่ยมขนาด 1 ลิปดา X 1 ลิปดา จำนวน 3,600 รูปคือ แบ่งตามลองจิจูด จากตะวันตกไปทางตะวันออกโซนละ 1 ลิปดา ได้ 60 โซน ให้ตัวเลขประจำโซนเริ่มด้วย 00, 01 ……….. ถึง 59 และแบ่งตามละติจูดจากใต้ไปเหนือเป็นแถบละ 1 ลิปดา ได้ 60 แถบ ให้ตัวเลขประจำแถบเริ่มด้วยเลข 00,01 ……….. ถึง 59 การอ่านค่าคงถือหลักอ่านจากซ้ายไปขวาแล้วขึ้นบนเช่นเดียวกัน ดังนั้นการกำหนดตำแหน่งของรูปสี่เหลี่ยมขนาด1 ลิปดา X 1 ลิปดา จึงบอกเป็นค่าที่ประกอบด้วยตัวอักษรสี่ตัวและเป็นตัวเลขสี่ตัว
(6) ในรูปสี่เหลี่ยมขนาด 1 ลิปดา X 1 ลิปดา ดังกล่าวแล้วในข้อ (5) สามารถที่จะแบ่งออกไปได้ด้านละ 10 ส่วน ทั้งตามค่าละติจูดและค่าลองติจูด ส่วนหนึ่งๆ จึงมีค่าเท่ากับ 0.1 ลิปดา สรุปแล้วการกำหนดค่าของจุดใดๆ ในระบบ GEOREF จึงกำหนดเป็นค่าพิกัดที่ประกอบด้วยตัวอักษร 4 ตัว และ ตัวเลข 6 ตัว โดยอาศัยหลักการอ่านจากซ้ายไปขวาแล้วขึ้นบน
3. การกำหนดตำแหน่งในแผนที่ เมื่อใช้แผนที่ในภูมิประเทศ 
เมื่อนำแผนที่ไปใช้ในภูมิประเทศ สิ่งที่ผู้ใช้แผนที่ควรจะต้องทราบและสามารถปฎิบัติได้ซึ่งถือเป็นความรู้พื้นฐานสำหรับผู้ใช้แผนที่ มีอยู่ 3 เรื่อง ดังนี้
1) การวางแผนที่ให้ถูกทิศทาง การวางแผนที่ให้ถูกทิศทางเป็นการปฎิบัติขั้นแรกของการใช้แผนที่ในภูมิประเทศเมื่อแผนที่ถูกวางให้ถูกทิศทางแล้ว  ทิศเหนือในแผนที่จะชี้ไปทางทิศเหนือในภูมิประเทศ ทิศทางของรายละเอียดใดๆ ที่มีแสดงไว้ในแผนที่ก็จะอยู่ในทิศทางที่สมจริงกับรายละเอียดที่ตรงกันซึ่งปรากฏอยู่ในภูมิประเทศ
ก) วิธีวางแผนที่ให้ถูกทิศทางที่สามารถกระทำได้เร็วที่สุด คือ วิธีการใช้เข็มทิศ โดยวางเข็มทิศให้ขอบตลับเข็มทิศทาบขนานไปตามแนวทิศเหนือในแผนที่ หมุนแผนที่ซึ่งมีตลับเข็มทิศวางทาบทับอยู่นั้นไปจนกว่าปลายเข็มทิศแม่เหล็กจะชี้ตรงเครื่องหมายแสดงทิศเหนือในตลับเข็มทิศ ขณะหมุนแผนที่จะต้องคอยระวังอย่าให้ขอบตลับเข็มทิศเคลื่อนจากแนวทิศเหนือของแผนที่
ข) ในกรณีที่ไม่มีเข็มทิศใช้ก็สามารถวางแผนที่ให้ถูกทิศได้ โดยอาศัยการวางแผนที่ให้รายละเอียดที่มีอยู่ในแผนที่ ชี้ไปในทิศทางเดียวกันกับรายละเอียดที่ตรงกัน ซึ่งปรากฏอยู่ในภูมิประเทศ เพื่อความมั่นใจในการจัดวางโดยวิธีนี้ควรจะใช้รายละเอียดที่เห็นเด่นชัดอย่างน้อย 2 ที่หมาย
ค)ในกรณีที่ไม่มีรายละเอียดในภูมิประเทศเพียงพอหรือมีแต่ไม่สามารถใช้เป็นที่หมายในการจัดวางแผนที่ให้ถูกทิศทางได้ก็จำเป็นต้องใช้วิธีหาแนวทิศเหนือในภูมิประเทศ ซึ่งจะได้อธิบายไว้ในเรื่องการหาทิศทางโดยอาศัยธรรมชาติช่วยในตอนต่อไป เมื่อกำหนดแนวทิศเหนือในภูมิประเทศได้แล้วก็สามารถวางแผนที่ให้ทิศเหนือในแผนที่ชี้ไปทางทิศเหนือในภูมิประเทศได้
2) การหมายจุดที่อยู่ของตัวผู้ใช้ลงในแผนที่ ผู้ใช้แผนที่ในภูมิประเทศจะต้องทราบอยู่ตลอดเวลาว่าขณะที่ตนอยู่ในภูมิประเทศนั้นอยู่ตรงจุดใดในแผนที่ วิธีหมายจุดที่อยู่ของตัวผู้ใช้ลงในแผนที่มีวิธีปฏิบัติได้หลายอย่าง ขึ้นอยู่กับขีดความสามารถของผู้ใช้ เครื่องมือและอุปกรณ์ ย่านเวลาและสิ่งแวดล้อมฯ ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้เป็นวิธีการง่ายๆ ซึ่งผู้ใช้แผนที่โดยทั่วไปสามารถปฏิบัติได้
ก) วิธีหมายจุดที่อยู่ของตัวผู้ใช้ลงในแผนที่อย่างง่ายที่สุด คือ การตรวจสอบดูว่าใน ภูมิประเทศบริเวณใกล้เคียงที่ตนอยู่นั้นมีอะไรเป็นที่สังเกตได้บ้าง เช่น ทางร่วม ทางแยก ลูกเนิน หนอง คลอง บึง ชายป่า อาคาร ฯลฯ แล้วตรวจดูรายละเอียดที่ตรงกันในแผนที่ประมาณตำแหน่งลงไปให้ใกล้เคียงที่สุด
ข) วิธีเล็งสกัดกลับ (Resection) เป็นวิธีหมายจุดที่อยู่ของตัวผู้ใช้ลงในแผนที่วิธีหนึ่งซึ่งอาศัยแนวเล็งผ่านจุดที่กำหนดได้แน่นอน ซึ่งมีอยู่ตรงกันทั้งในแผนที่และใน ภูมิประเทศ 2 ทิศทาง ขีดแนวเล็งทั้งสองนั้นกลับมาตัดกัน จุดตัดกัน ของแนวเล็ง ดังกล่าวคือตำแหน่งของผู้ใช้แผนที่
3) การกำหนดตำแหน่งของที่หมายในภูมิประเทศลงในแผนที่ วิธีที่จะกำหนดตำแหน่งของที่หมายใดๆ ในภูมิประเทศลงไปในแผนที่ กระทำได้หลายวิธี ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะวิธีการง่ายๆ ซึ่งผู้ใช้แผนที่ทั่วไปสามารถปฏิบัติได้ ดังนี้
ก) วิธีที่ง่ายที่สุด คืออาศัยพิจารณารายละเอียดที่ปรากฏอยู่ใกล้ๆ โดยรอบที่หมายนั้นในภูมิประเทศ และรายละเอียดดังกล่าวมีแสดงไว้แล้วในแผนที่เป็นหลักประมาณระยะห่างและทิศทางเทียบเคียงแล้วก็กำหนดตำแหน่งของที่หมายลงไปในแผนที่ได้ทันที
ข) วิธีเล็งสกัดตรง( Intersection ) เป็นวิธีการกำหนดตำแหน่งของที่หมายใดๆ ในภูมิประเทศ ที่ไม่มีปรากฏอยู่ก่อนในแผนที่เพิ่มเติมลงในแผนที่ โดยอาศัยการเล็งแนวจากจุดที่กำหนดได้แน่นอนในแผนที่อย่างน้อย 2 จุด ไปยังที่หมายนั้น

1 ความคิดเห็น:

  1. Do you understand there is a 12 word sentence you can say to your man... that will trigger deep feelings of love and impulsive appeal for you buried within his heart?

    That's because deep inside these 12 words is a "secret signal" that triggers a man's instinct to love, adore and look after you with his entire heart...

    12 Words That Trigger A Man's Desire Instinct

    This instinct is so built-in to a man's brain that it will make him try harder than ever before to make your relationship the best part of both of your lives.

    Matter-of-fact, fueling this mighty instinct is so mandatory to having the best possible relationship with your man that as soon as you send your man one of the "Secret Signals"...

    ...You will soon notice him open his mind and soul for you in a way he haven't expressed before and he will identify you as the one and only woman in the world who has ever truly appealed to him.

    ตอบลบ

ลักษณทางภูมิศาสตร์

ลักษณทางภูมิศาสตร์
ภูมิประเทศ