ผู้ที่ศึกษาทางภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยาและธรณีสัณฐานวิทยา อาจจะพอมองออกว่าภูเขาแต่ละลูกมีกำเนิดอย่างไร เป็นหินประเภทใด เช่น ดอยอินทนนท์ เกิดจากการแทรกดัน ของหินอัคนีประเภทหินแกรนิตขึ้นมา มีส่วนที่หักกร่อนหรือน้ำกัดกร่อน เมื่อหินผุกร่อนก็จะกลายเป็นดินและมีพืชพรรณธรรมชาติเจริญเติบโตได้
ภูเขาเป็นทิวทัศน์ที่งดงาม มักมีคนไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ ชมธรรมชาติภูเขา หรือถ้ำซึ่งมีหินงอกหินย้อย พื้นที่ที่มีถ้ำส่วนมากเป็นพื้นที่หินปูน เรียกว่า ภูมิประเทศแบบ คาร์สต์ (Karst) ปัจจุบันผู้ที่ใกล้พื้นที่ภูเขาอาจจะมีวิถีชีวิตในการหารายได้ส่วนหนึ่งจากการท่องเที่ยวได้ ถ้าทำความเข้าใจกันอย่างดีแล้ว บุคคลเหล่านี้จะช่วยในการอนุรักษ์ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มนุษย์โบราณที่ยังไม่มีเทคโนโลยีในการสร้างบ้าน มักอาศัยอยู่ในถ้ำ มีวิถีชีวิตในการล่าสัตว์หาของป่า
ภูเขามักจะบังทิศทางลม ยอดเขาเป็นที่สะสมความชื้น ทำให้บรรยากาศบริเวณภูเขาแตกต่างกันทั้ง ๆ ที่อยู่ใกล้กัน ส่งผลให้พืชพรรณธรรมชาติพืชที่ผู้อยู่อาศัย ปลูกแตกต่างกันคนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่จึงมีวิถีชีวิตที่ต่างกันด้วย
ภูเขาสูงเป็นอุปสรรคในการคมนาคมขนส่ง ประเทศที่มีภูเขามากมาย เมื่อทำถนนหรือสร้างทางรถไฟก็ต้องเจาะอุโมงค์ ซึ่งไม่สามารถทำได้ทุกแห่ง ผู้ที่อาศัยอยู่ที่สูง มักมีเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ และวัฒนธรรมต่างกัน รวมทั้งแตกต่างจากคนพื้นราบด้วย มีวิถีชีวิตที่มีลักษณะพิเศษ เช่น เดินบนที่สูงชันได้คล่องแคล่ว การเพาะปลูกมักทำไร่เลื่อนลอย สมัยโบราณที่มีที่ดินมากคนน้อย พืชธรรมชาติสามารถกลับคืนได้ แต่ในปัจจุบันมีปัญหาในหลายที่และก่อให้เกิดน้ำกัดเซาะ (water erosion) นอกจากความคิดเรื่องเขตแดน ของผู้ที่อาศัยบนเขาแตกต่างจากคนพื้นราบแล้ว ปัจจุบันสภาพภูมิศาสตร์ภูเขายังมีปัญหาเรื่องขาดแคลนอาหารและบริการของทาง ราชการ เช่น การศึกษาและการรักษาพยาบาล การจัดตลาดการค้าสินค้าการเกษตรและหัตถกรรมก็ทำได้ยากเช่นกัน และมีโรคร้าย เช่น มาเลเรีย ซึ่งมักเกิดในป่าทึบ อาจจะมียาพื้นบ้าน แต่ไม่ค่อยได้ผล บางคนมาทำงาน ในเมือง เปลี่ยนวิถีชีวิต บ้างประสบความสำเร็จ แต่บ้างก็ล้มเหลว การตัดไม้เพื่อหักร้างถางพงแต่ก่อนนี้ใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพน้อย จึงไม่ทำลายล้างอย่างรวดเร็ว ดังเช่นปัจจุบัน การแก้ปัญหาเรื่องปลูกพืชเสพติดด้วยการใช้วิธีปลูกพืชทดแทน ได้แก่ พืชเมืองหนาว พืชที่มีราคาสูง นอกจากนั้นการทำนาขั้นบันได ซึ่งในเมืองไทยไม่มีวิถีชีวิต เช่นนี้อย่างในฟิลิปปินส์หรืออินโดนีเซีย อาจเป็นเพราะชุมชนมักเคลื่อนที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น