วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

การสำรวจภาคพื้นดิน (Land Surveying)

การสำรวจสามารถแบ่งออกได้หลายอย่างซึ่งรวมการสำรวจจากภาพถ่ายทางอากาศสิ่งที่ต้องคำนึงถึงการสำรวจก็คือ  วิธีการสำรวจและคำนวณ เครื่องมือที่ใช้จะยากง่ายแตกต่างหันไป การแบ่งชนิดของการสำรวจภาคพื้นดิน จะมีดังนี้
                1.  การสำรวจขั้นสูง  (Geodetic  Surveying)
                   เป็นวิธีการสำรวจที่คิดความโค้งของโลกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  เช่น  ระยะทางจะต้องเป็นระยะบนระดับน้ำทะเลปานกลาง  หรือที่ผิวของรูป Ellipsoid  ค่าระดับจะต้องเป็นค่าที่ผิว ความสูงที่ได้จะเป็นความสูง  ทิศทางก็จะเป็นภาคของทิศจริง ซึ่งคิดที่ผิว Sphetoid  การสำรวจชนิดนี้จะใช้กับบริเวณกว้างขวาง   ใช้คณิตขั้นสูงในการคำนวณ และการคำนวณจะต้องอ้างอิงกับโครงข่ายที่มีความละเอียดและจุดบังคับโครงข่ายจะใช้เป็นหมุดบังคับแผนที่  การสำรวจชนิดนี้สามารถจะวัดขนาด และรูปร่างของโลกได้ สมารถจะตรวจสอบข้อมูลดาวเทียมหรือตรวจสอบพิกัดดาวเทียมได้เช่นกัน ปัจจุบันคอมพิวเตอร์และซอฟแวร์เป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจขั้นสูงรวมทั้งการรังวัดทางดาราศาสตร์ และการสำรวจดาวเทียม
2.  การสำรวจพื้นราบ (Plane Surveying)
          เป็นการสำรวจโดยคิดว่าโลกแบบราบ  เพราะฉะนั้นจึงใช้กับพื้นที่ขนาดเล็ก  เช่น การสำรวจเพื่อการก่อสร้างและการสำรวจเพื่อการรังวัดที่ดิน ซึ่งจะกล่าวถึงในตำราเล่มนี้เป็นส่วนมาก
               
         3.  เป็นการสำรวจทางภูมิประเทศ (Topographic  Survey)
                                เป็นการสำรวจเพื่อกำหนดตำแหน่งทางราบและทางดิ่ง เพื่อให้ได้รายละเอียดจากสิ่งมนุษย์สร้างและที่มีในธรรมชาติในบริเวณที่ต้องสำรวจ ปัจจุบันจะทำการสำรวจเพื่อทำเป็นแผนที่มูลฐาน (Base  Map) เพื่องานสารสนเทศภูมิศาสตร์  การสำรวจแผนที่ภูมิประเทศ จะสามารถนำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศมาใช้ในปัจจุบันนี่ภาพถ่ายดาวเทียมที่ประเทศที่มีดาวเทียม
โดยเฉพาะในปัจจุบันสามารถสแกนภาพถ่ายทางอากาศเข้าไปเก็บในคอมพิวเตอร์ได้ เราเรียกว่า  Image  processing
                4 .  การสำรวจทางอุทกศาสตร์ (Hydrograpinic Survey)
                   เป็นการสำรวจหาความเร็วของกระแสน้ำ  ความลึกของท้อองทะเล การทำแผนที่ฝั่งทะเล ท้องทะเลเพื่อที่จะใช้ทำแผนที่เดินเรือ ในปัจจุบันการสำรวจจะรวมการสำรวจนอกจากชายฝั่งเพื่อหาน้ำมันและแก๊ส นอกจากนั้นข้อมูลการสำรวจยังใช้ในการออกแบบและก่อสร้างท่าเรือ เส้นทางเดินเรือในแม่น้ำ การป้องกันมลพิษในแม่น้ำ การวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเล
                5.  การสำรวจเพื่อการเอกสารกรรมสิทธิ์ที่ดิน (Cadastral Survey)
          เป็นการสำรวจเพื่อบันทึกขอบเขตเมือง  อำเภอ  ตำบล  และเขตกรรมสิทธิ์ที่ดิน ซึ่งในเมืองไทยจะเน้นการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินซึ่งกรมที่ดิน  เป็นผู้รับผิดชอบ และดำเนินการวางเส้นโครงแผนที่ กำหนดหมุดบังคับ โดยใช้ดาวเทียม และทำแผนที่ในระบบ UTM
          6.  การสำรวจเพื่องานวิศวกรรม (Engincering Surveying)
                   เป็นการสำรวจเพื่อการออกแบบก่อสร้าง การสำรวจจะเป็นการทำแผนที่ภูมิประเทศซึ่งจะทราบพิกัดฉาก และค่าระดับ  ถ้าเป็นการสำรวจพื้นที่ขนาดเล็กก็คิดว่าเป็นพื้นราบ เช่น การสร้างตึก ถนน  อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก  ถ้าเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ก็จะใช้การสำรวจขั้นสูง
การสำรวจจะแบ่งขั้นตอนออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
1. ขั้นการออกแบ
2. ขั้นก่อนการก่อสร้าง
3. ขั้นการติดตามความก้าวหน้าในการก่อสร้าง
 การสำรวจตรวจสอบ
การสำรวจเส้นทาง (Route  surveying)
          เป็นการสำรวจเพื่อกำหนดหมุดบังคับทางราบ (horizontal Control) ซึ่งจะบอกค่าพิกัด ปละหมุดบังคับทางดิ่ง (vertical  Control) ซึ่งเราเรียกว่าหมุดหลักฐาน  การระดับ (มฐ = BM = Beench Mark) นอกจากกำหนดหมุดแล้วยังมีการวางแนวศูนย์กลาง  ซึ่งจะเป็นแนวตรงหรือแนวโค้งก็ได้ เช่นถนน  ทางรถไฟ สำหรับการสื่อสารก็จะมีแนวของเคเบิงใยแก้ว (fiber optic) นอกจากนั้นยังมีแนวของสายไฟฟ้าแรงสูง

การสำรวจเหมืองแร่ (Mine Surveying)
          ปัจจุบันจะมีการสำรวจทางอวกาศ โดยใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียมเพื่อสำรวจทางธรณีวิทยา  สำรวจใต้ดินเพื่อหาโครงสร้างของเปลือกโลก และแหล่งแร่ กาสำรวจภาคพื้นดินเพื่อทำแผนที่และกำหนดหมุดบังคับทางราบทางดิ่ง เอการเจาะอุโมงค์ การทำแผนที่ใต้ดิน
2.16 การสำรวจพิเศษอื่นๆ
                1.  การสำรวจทางธรณีวิทยา (Geolgical Survey)  เป็นการสำรวจเพื่อหาแร่ธาตุเช่นชนิดของหินการเก็บตัวอย่างหิน จะต้องบอกพิกัดจุดที่เก็บมาด้วย ปัจจุบันเครื่อง Gps receiver แบบมดดือถือจะสมารถบอกพิกัดภูมิศาสตร์และพิกัด UTM ได้ทำให้ได้ตำแหน่งที่แน่นอน
                2.  การสำรวจดิน (Soil Survey) เป็นการสำรวจเก็บตัวอย่างชนิดของดิน  เพื่อการเกษตร เพื่อใช้วางแผนปรับปรุงบำรุงดิน ในการเก็บตัวอย่างก็จะต้องหาพิกัดมาด้วย ซึ่งอาศัยเครื่อง GPS receiver ปัจจุบันสามารถใช้ดาวเทียมถ่ายภาพเพื่อหาชนิดของดินได้ ชนิดของดินจะแสดงด้วยพื้นที่บนแผนที่
                3.  การสำรวจทางโบราณคดี (Archacological Survey)  เป็นการสำรวจทำแผนที่โบราณสถาน และรายละเอียดต่าง ๆ  ของโบราณวัตถุ  การสำรวจที่ถูกหลักวิชาการสำรวจนั้น เจ้าหน้าที่จะต้องสามารถกำหนดเขตโดยกำหนดพิกัดเพื่อป้องกันการบุกรุก มีอำนาจในการออกเอกสารสิทธิ์ของกรมศิลปากรเอง
                4 . การสำรวจป่าไม้ (foresty Survey)  เป็นการสำรวจเพื่อกำหนดขอบเขตของป่าไม้ที่แน่นอน  มีพิกัดควบคุม และควรสามารถออกเอกสารสิทธิ์ของกรมฯ นอกจากนั้นการสำรวจเพื่อการจำแนกป่า เพื่อปรับปรุงป่า  แบ่งเขตสัมปทานเขตอุทยานแห่งชาติ ปละเขตอนุรักษ์สัตว์ป่า
                5 . การสำรวจเพื่อทำแผนที่ทางทหาร (Military Survey)  การทำแผนที่ทางทหาร  สามารถทำการสำรวจทางอวกาศ โดยเฉพาะภาพถ่ายจากดาวเทียมเครื่องบินการสำรวจภาคพื้นดิน  การสำรวจทางอุทกศาสตร์  เพื่อนำมาทำแผนที่ทางทหาร  ในประเทศไทยมีกรมแผนที่ทหารเป็นผู้รับผิดชอบ



การสำรวจด้วยเข็มทิศ  (compass surveying)
                การสำรวจด้วยเข็มทิศนี้เป็นการสำรวจเบื้องต้นที่ต้องการผลงานหยาบ ๆ ใช้ในพื้นที่ที่ไม่กว้างขวางมากนักปัจจุบันเนื่องจากพื้นที่มีความสำคัญมากขึ้น การทำแผนที่ด้วยเข็มทิศมีความสำคัญน้อยลง   แต่ในแง่การศึกษาการทำสำรวจด้วยเข็มทิศจะใช้เป็นหลักการสำรวจด้วยกล้องวัดมุม ๆ ไม่ว่าจะเป็นชนิด Glass Scale หรือ Electronic
          ถ้าหากว่าแม่เหล็กมีรูปร่างและขนาดเล็กมีความยาวมากกว่าส่วนกว้าง  ซึ่งเรียกว่า ถ้าถูกแขวนลอยอย่างอิสระ ปลายเข็มแม่เหล็กจะชี้ไปในแนวเหนือใต้ ซึ่งจะขนานกับเส้นแรงแม่เหลกฌลก เส้นนี้จะใช้แทนเมอริเดียนแม่เหล็กหรือทิศเหนือแม่เหล็ก
4.2  ชนิดของเข็มทิศ
                1. Poket Compass เป็นเข็มทิศขนาดเล็กที่พกพาไปได้สะดวก
                2. เข็มทิศเดินเรือ  เป็นเข็มทิศชนิดพิเศษที่ Support 4 อัน สองอันแรกจะอยู่บนสองอันหลัง
                3. Surbeyor’s Compass
          4. Tubular Compass หรือ Trough Compass
5. Transit Compass
6. Compass Theodolite
7.  เข็มทิศแบบดิจิตอล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ลักษณทางภูมิศาสตร์

ลักษณทางภูมิศาสตร์
ภูมิประเทศ