2. ภูมิศาสตร์ภูมิภาค (Regional Geography) คือ การเข้าถึงระบบเทศสัมพันธ์ (Spatial interaction)ด้วยการแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ ในการอธิบายผิวโลกที่มีมนุษย์อาศัยนั้น นักภูมิศาสตร์ใช้วิธีการแบ่งพื้นที่ออกเป็นขนาดต่างๆ กันตามเกณฑ์และวัตถุประสงค์ เกณฑ์ในการกำหนดพื้นที่นั้นมีหลายอย่าง โดยทั่วไปต้องรวมเอาปัจจัยทางด้านกายภาพและวัฒนธรรมเข้าไว้ด้วยกัน นักภูมิศาสตร์นิยมแบ่งภูมิภาคออกตามระบบอากาศ เช่น ภูมิภาคเขตร้อนชื้น ภูมิภาคเขตอบอุ่น และภูมิภาคเขตทะเลทราย เป็นต้น หรือแบ่งภูมิภาคตามกลุ่มวัฒนธรรม เช่น กลุ่มละติน-อเมริกัน หรือกลุ่มอาหรับ เป็นต้น แต่ที่นิยมกันมากคือการแบ่งพื้นที่ศึกษาตามรูปแบบการปกครอง คือ ยึดเอาเนื้อที่ของประเทศต่างๆ เป็นเกณฑ์ เพราะสะดวกในเรื่องข้อมูลภายในพื้นที่นั้น ในปัจจุบันได้มีการแบ่งภูมิภาคออกตามบทบาทหน้าที่เด่นของพื้นที่นั้น เช่น ภูมิภาคของเมืองหรือเขตที่เมืองมีอิทธิพลต่อบริเวณรอบนอกตลอดจนเขตบริการ ต่าง ๆ อันจัดเป็นภูมิภาคขนาดเล็กแต่ก็มีประสิทธิภาพในการจัดพื้นที่ (Hartshorne, 1959)
3. เทคนิคต่างๆ (Techniques) เนื่องจากวิชาภูมิศาสตร์เกี่ยวกับการสำรวจและ การบันทึกข้อมูลลงในแผนที่มาช้านาน หลักการทำแผนที่ตลอดจนศิลปะในการ จัดรูปแบบข้อมูลต่างๆลงในแผนที่ได้กลายเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของ ภูมิศาสตร์ เทคนิคทางวิชาภูมิศาสตร์จึงเป็นการคำนวณสร้างโครงข่ายแผนที่ในลักษณะต่างๆ ออกมาใช้ตามวัตถุประสงค์ ในขณะเดียวกันก็รักษาคุณสมบัติของผิวโลกที่จำลอง ไปไว้ในแผนที่ให้ใกล้เคียงความจริงที่สุดด้วย นอกจากประดิษฐ์แผนที่ด้วย โปรเจกชันแบบต่างๆ แล้ว ยังมีการประดิษฐ์สัญลักษณ์ในรูปแบบต่าง ๆ ใช้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นกราฟ กราฟแท่งหรือไดอะแกรม เป็นต้น ในสมัยปัจจุบันได้มีการผนวกเอาเทคนิคทางด้านปริมาณวิเคราะห์เข้ามาไว้ด้วย การรู้จักใช้วิชาสถิติในลักษณะต่างๆ ประกอบกันกับคอมพิวเตอร์ ได้ช่วยปรับปรุงวิธีการทางภูมิศาสตร์ให้เป็นที่เชื่อถือได้ยิ่งขึ้น เทคนิคประการสุดท้าย คือการนำความรู้ทางด้านภาพถ่าย ภาพถ่ายทางอากาศ และโทรสัมผัสระยะไกล (Remote Sensing) มาช่วยการวิเคราะห์ และตีความหมายพื้นที่ทำได้สะดวก และรวดเร็วขึ้น ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป
4. หลักปรัชญา (Philosophy) เนื่องจากวิชาการทุกสาขาต้องมีแนวความคิด คือ ความเชื่อในสิ่งที่กระทำ มีหลักการยึดถือปฏิบัติ ภูมิศาสตร์เองก็มีแนวความคิดของ วิชาเป็นแกน ข้อคิดอันเป็นแก่นสารของวิชานี้ในแต่ละสมัยถูกรวบรวมไว้เป็น กระจกส่องให้เห็นความเป็นมา ประวัติความเป็นมาของวิชาจึงครอบคลุมเนื้อหา ดังกล่าว ในขณะเดียวกันประวัติแนวความคิดหรือปรัชญาของวิชาก็ค่อย ๆ เจริญงอกงามจากการสะสมเพิ่มพูนของแนวความคิดในแต่ละสมัย ส่วนวิธีการก็ได้รับการขัดเกลาปรับปรุงจนใช้เป็นมาตรฐานในการค้นคว้าศึกษา
การสร้างทฤษฎีหรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับกิจกรรมของมนุษย์และสภาพแวดล้อมใน ปัจจุบัน กลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับวิชาภูมิศาสตร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น