วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

แผนที่ประเทศไทย

ภูมิศาสตร์ประเทศไทย


ประเทศไทยตั้งอยู่ในแหลมอินโดจีน  การที่เรียกว่าแหลมอินโดจีน  เพราะถือว่าอยู่ระหว่างประเทศอินเดีย กับประเทศจีน ซึ่งเป็นการถือเอาประเทศใหญ่เป็นจุดอ้าง  แต่ถ้าถือเอาสภาพทางภูมิศาสตร์ เป็นจุดอ้างก็น่าจะเรียกว่า อินโด - แปซิฟิค  เพราะเป็นแหลมที่แบ่งน่านน้ำออกเป็นมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิค  มีพิกัดทางภูมิศาสตร์ ดังนี้
         ทิศเหนือ  จดเส้นรุ้ง ๒๐ องศา ๒๕ ลิบดา ๓๐ พิลิบดา เหนือ ที่กิ่งอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
         ทิศใต้  จดเส้นรุ้ง ๕ องศา ๓๗ ลิบดา ที่กิ่งอำเภอเบตง จังหวัดยะลา
         ทิศตะวันออก  จดเส้นแวง ๑๐๕ องศา ๓๗ ลิบดา ๓๐ พิลิบดา ที่อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
         ทิศตะวันตก  จดเส้นแวง ๙๗ องศา ๒๒ ลิบดา ตะวันออก ที่อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
            สภาพธรรมชาติในเขตร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบตะวันออก - ใต้ของทวีปเอเซีย มีอุณหภูมิสูง มีทะเลลมและฝนเป็นปัจจัยให้เกิดป่าดง ประกอบไปด้วยพันธุ์ไม้เขตร้อน และสัตว์ป่านานาชนิด ที่มีปริมาณมากกว่าอีกหลายส่วนของโลก นับว่าเป็นย่านอันอุดมสมบูรณ์ด้วยอาหาร และทรัพยากรที่สำคัญแห่งหนึ่งของทวีปเอเซีย
            การที่เส้นแวง ๑๐๑ องศา ตะวันออก ซึ่งเป็นเส้นผ่านกลางพื้นที่ประเทศไทย  การคิดเวลาของประเทศไทย จึงควรใช้เส้นแวงเส้นนี้เป็นตัวกำหนด  แต่เนื่องจากว่าเพื่อให้สะดวกในกิจการรถไฟ ซึ่งเชื่อมต่อไปยังแหลมมลายู ได้มีเวลาตรงกันทั้งไทย และมลายู (มาเลเซีย) ไทยจึงตกลงใช้เส้นแวง ๑๐๕ องศาตะวันออก ซึ่งเป็นเส้นศูนย์เที่ยงทางภูมิศาสตร์ของมลายู และเป็นเส้นศูนย์เที่ยงของอินโดจีนด้วย เป็นเส้นศูนย์เที่ยงของไทยด้วย  จึงทำให้เวลาที่แท้จริงของไทยเร็วไป ๑๘ นาทีของที่ควรจะเป็น

ประกาศ สาขาภูมิศาสตร์


ประกาศด่วน รับสมัครนิสิตสาขาภูมิศาสตร์ จำนวน 1 คน เพื่อเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระยะสั้น ระหว่าง Universiti Teknologi Malaysia(malaysia) ในวันที่ 16-27 พ.ค.2554 และ Sangmyung Iniversiti ระหว่างวันที่ 29 มิ.ย. -20 ก.ค. 2554 เพื่อเรียนรู้ภาษา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ประวัติศาสตร์ ใครสนใจให้มากรอกใบสมัครได้ที่ห้องภาควิชาได้

วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

โครงสร้างที่สำคัญของวิชาภูมิศาสตร์

1. ภูมิศาสตร์ระบบ (Systematic Geography) ประกอบด้วยเนื้อหาสาระทางด้าน สภาพแวดล้อมหรือกายภาพส่วนหนึ่ง และบทบาทของมนุษย์ในการดัดแปลงปรับปรุง สภาพแวดล้อมอีกส่วนหนึ่ง ทั้งสองระบบย่อยนี้ต่างมีผลกระทบต่อกันและกันและแสดง ออกมาให้เห็นทางด้านพื้นที่ ในระบบกายภาพ เนื้อหาจะประกอบด้วยส่วนย่อยต่างๆ ที่รวมกันเป็นระบบสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น โครงสร้างทางธรณี ลักษณะอากาศ ดิน พืชพรรณ ตลอดจนสัตว์ต่างๆ แต่ในขณะเดียวกันทั่วไปใน ระดับอุดมศึกษา เช่น วิชาธรณีสัณฐาน ภูมิศาสตร์เกี่ยวกับดิน อากาศวิทยา และอุทกภูมิศาสตร์ เป็นต้น ส่วนในระบบมนุษย์ ซึ่งในบางครั้งก็เรียกว่า ระบบสังคม หรือ ระบบวัฒนธรรม ก็ได้นั้น ประกอบด้วยปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ และความเป็นอยู่ ตลอดจนปัจจัยต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมาในพื้นที่หนึ่ง และกลายเป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์เอง เนื้อหาสาระจึงประกอบด้วย เรื่องราวต่าง ๆ เกือบทุกอย่างที่ไม่ใช่สภาพแวดล้อมธรรมชาติ เช่น ประชากร ระบบเศรษฐกิจ การอุตสาหกรรม การปกครอง และการค้า เป็นต้น
2. ภูมิศาสตร์ภูมิภาค (Regional Geography) คือ การเข้าถึงระบบเทศสัมพันธ์ (Spatial interaction)ด้วยการแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ ในการอธิบายผิวโลกที่มีมนุษย์อาศัยนั้น นักภูมิศาสตร์ใช้วิธีการแบ่งพื้นที่ออกเป็นขนาดต่างๆ กันตามเกณฑ์และวัตถุประสงค์ เกณฑ์ในการกำหนดพื้นที่นั้นมีหลายอย่าง โดยทั่วไปต้องรวมเอาปัจจัยทางด้านกายภาพและวัฒนธรรมเข้าไว้ด้วยกัน นักภูมิศาสตร์นิยมแบ่งภูมิภาคออกตามระบบอากาศ เช่น ภูมิภาคเขตร้อนชื้น ภูมิภาคเขตอบอุ่น และภูมิภาคเขตทะเลทราย เป็นต้น หรือแบ่งภูมิภาคตามกลุ่มวัฒนธรรม เช่น กลุ่มละติน-อเมริกัน หรือกลุ่มอาหรับ เป็นต้น แต่ที่นิยมกันมากคือการแบ่งพื้นที่ศึกษาตามรูปแบบการปกครอง คือ ยึดเอาเนื้อที่ของประเทศต่างๆ เป็นเกณฑ์ เพราะสะดวกในเรื่องข้อมูลภายในพื้นที่นั้น ในปัจจุบันได้มีการแบ่งภูมิภาคออกตามบทบาทหน้าที่เด่นของพื้นที่นั้น เช่น ภูมิภาคของเมืองหรือเขตที่เมืองมีอิทธิพลต่อบริเวณรอบนอกตลอดจนเขตบริการ ต่าง ๆ อันจัดเป็นภูมิภาคขนาดเล็กแต่ก็มีประสิทธิภาพในการจัดพื้นที่ (Hartshorne, 1959)
3. เทคนิคต่างๆ (Techniques) เนื่องจากวิชาภูมิศาสตร์เกี่ยวกับการสำรวจและ การบันทึกข้อมูลลงในแผนที่มาช้านาน หลักการทำแผนที่ตลอดจนศิลปะในการ จัดรูปแบบข้อมูลต่างๆลงในแผนที่ได้กลายเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของ ภูมิศาสตร์ เทคนิคทางวิชาภูมิศาสตร์จึงเป็นการคำนวณสร้างโครงข่ายแผนที่ในลักษณะต่างๆ ออกมาใช้ตามวัตถุประสงค์ ในขณะเดียวกันก็รักษาคุณสมบัติของผิวโลกที่จำลอง ไปไว้ในแผนที่ให้ใกล้เคียงความจริงที่สุดด้วย นอกจากประดิษฐ์แผนที่ด้วย โปรเจกชันแบบต่างๆ แล้ว ยังมีการประดิษฐ์สัญลักษณ์ในรูปแบบต่าง ๆ ใช้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นกราฟ กราฟแท่งหรือไดอะแกรม เป็นต้น ในสมัยปัจจุบันได้มีการผนวกเอาเทคนิคทางด้านปริมาณวิเคราะห์เข้ามาไว้ด้วย การรู้จักใช้วิชาสถิติในลักษณะต่างๆ ประกอบกันกับคอมพิวเตอร์ ได้ช่วยปรับปรุงวิธีการทางภูมิศาสตร์ให้เป็นที่เชื่อถือได้ยิ่งขึ้น เทคนิคประการสุดท้าย คือการนำความรู้ทางด้านภาพถ่าย ภาพถ่ายทางอากาศ และโทรสัมผัสระยะไกล (Remote Sensing) มาช่วยการวิเคราะห์ และตีความหมายพื้นที่ทำได้สะดวก และรวดเร็วขึ้น ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป
4. หลักปรัชญา (Philosophy) เนื่องจากวิชาการทุกสาขาต้องมีแนวความคิด คือ ความเชื่อในสิ่งที่กระทำ มีหลักการยึดถือปฏิบัติ ภูมิศาสตร์เองก็มีแนวความคิดของ วิชาเป็นแกน ข้อคิดอันเป็นแก่นสารของวิชานี้ในแต่ละสมัยถูกรวบรวมไว้เป็น กระจกส่องให้เห็นความเป็นมา ประวัติความเป็นมาของวิชาจึงครอบคลุมเนื้อหา ดังกล่าว ในขณะเดียวกันประวัติแนวความคิดหรือปรัชญาของวิชาก็ค่อย ๆ เจริญงอกงามจากการสะสมเพิ่มพูนของแนวความคิดในแต่ละสมัย ส่วนวิธีการก็ได้รับการขัดเกลาปรับปรุงจนใช้เป็นมาตรฐานในการค้นคว้าศึกษา
การสร้างทฤษฎีหรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับกิจกรรมของมนุษย์และสภาพแวดล้อมใน ปัจจุบัน กลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับวิชาภูมิศาสตร์


ความรู้เกี่ยวกับวิชาภูมิศาสตร์

ภูมิศาสตร์ (geography) คือ ศาสตร์ทางด้านพื้นที่และบริเวณต่างๆ บนพื้นผิวโลก เป็นวิชาที่ศึกษาปรากฏการณ์ทางกายภาพ และมนุษย์ ที่เกิดขึ้น ณ บริเวณที่ทำการศึกษา รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่บริเวณโดยรอบ
นักภูมิศาสตร์อธิบายถึงรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงของที่ต่างๆ บนโลก แผนที่ และสัณฐานโลก โดยอธิบายว่ารูปแบบการเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ภูมิศาสตร์จะทำให้เข้าใจปัญหาทางด้านกายภาพ และวัฒนธรรม ของบริเวณที่ศึกษา และสิ่งแวดล้อมโดยรอบที่อยู่บนพื้นผิวโลก
ภูมิศาสตร์ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สถานที่ และสิ่งแวดล้อมโดยการใช้ข้อมูลทางแผนที่ ในการอธิบายความสัมพันธ์ทางด้านพื้นที่ การตั้งถิ่นฐานและการอยู่อาศัยของคนแต่ละคน และโดยรวมเป็นรากฐานในการเลือกสถานที่ เพื่อสร้างสังคมมนุษย์ในดินแดนต่างๆ และมีความสัมพันธ์กับชีวิตของพืชและสัตว์ ในการเกิดดำรงชีวิต และการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศวิทยา
คนเป็นศูนย์กลางทางภูมิศาสตร์ที่มีกิจกรรมต่างๆ บนพื้นผิวโลก การตั้งถิ่นฐาน ตามโครงสร้างของผิวโลก และคนมีการแข่งขันกันที่จะควบคุมพื้นผิวโลก สิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ถูกเปลี่ยนแปลงโดยกิจกรรมของมนุษย์มีผลอย่างมากต่อ แนวทางที่เป็นลักษณะคุณค่าทางสังคมมนุษย์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของโลก และกิจกรรมของมนุษย์จะมีอิทธิพลต่อลักษณะ และกระบวนการทางกายภาพของโลก ความรู้ทางภูมิศาสตร์ทำให้ผู้คนสามารถพัฒนาความเข้าใจ
ในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างคน สถานที่ และสิ่งแวดล้อม ณ เวลาหนึ่ง

ลักษณทางภูมิศาสตร์

ลักษณทางภูมิศาสตร์
ภูมิประเทศ